วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

รวมข้อมูลมหาวิทยาลัยเอกชนทั่วประเทศ

http://campus.sanook.com/936634/%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8/

รวม link มหาวิทยาลัยรัฐบาล สำหรับนักเรียนที่กำลังหาข้อมูลเพื่อศึกษาต่อ

วิศวกรรมโยธา (Civil Engineering) คืออะไร

ขอเตือน!!วิศวกรรม"ปิโตรเคมี" กับ "ปิโตรเลียม"

วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2556

วิศวกรอุตสาหการ คืออะไร!

วิศวกรรมอุตสาหการ ( Industrial Engineering) เป็นวิศวกรรมศาสตร์สาขาที่เกี่ยวกับการออกแบบ พัฒนา วางแผน ควบคุม การวิจัยดำเนินงาน จัดการและประเมินผลระบบโดยรวมซึ่งครอบคลุมปัจจัยทุกๆด้านทั้ง บุคคล สารสนเทศ อุปกรณ์พลังงาน วัสดุ รวมไปถึง การเงินวิศวกรรมอุตสาหการเป็นงานทางด้านการประยุกต์ที่เกี่ยวกับการวิจัยดำเนินงาน ทรัพยากรต่างๆ และปฏิสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินงานและทรัพยากร เพื่อบรรลุจุดประสงค์การดำเนินงานตามทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้หลักการและวิธีการทางด้านการวิเคราะห์และสังเคราะห์ทางวิศวกรรมรวมถึง คณิตศาสตร์ สถิติ ฟิสิกส์ การตลาดงานของวิศวกรอุตสาหการ จะเกี่ยวกับ การลดเวลาการปฏิบัติงาน ค่าใช้จ่าย วัสดุ พลังงาน และทรัพยากรอื่นๆ รวมไปถึงงานการควบคุมคุณภาพการผลิตของการผลิตหรือการดำเนินงานเพื่อให้อยู่ในระดับที่ต้องการโดยหากลวิธีต่างๆ ในการพัฒนา ปรับปรุง แก้ไข เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้คุ้มค่าที่สุด
ขณะที่วิศวกรรมสาขาอื่นๆจะเกี่ยวกับทักษะเฉพาะทาง วิศวกรรมอุตสาหการจะถูกใช้อย่างกว้างขวางในงานหลายๆด้าน ทั้งทางอุตสาหกรรมตลอดจนงานบริหารการดำเนินการต่างๆเช่น การจัดการรายได้ เช่น การจองที่นั่งของสายการบิน การจัดการคิวหรือลำดับการบริการ 


วิศวกรรมปิโตรเคมี คืออะไร!

วิศวกรรมปิโตรเลียม คืออะไร??

         วิศวกรปิโตรเลียม คือ วิศวกรผู้ทำงานเกี่ยวกับ การเจาะและการผลิต น้ำมันหรือก๊าชธรรมชาติขึ้นมาจากแหล่งกักเก็บใต้ผิวดิน ลักษณะงานมีทั้งภาคออกแบบ ศึกษา วางแผน และภาคสนาม

วิศวกรรมปิโตรเลียม เรียนอะไรบ้าง??

           หมวดธรณีวิทยา เรียนทางด้านธรณีวิทยาทั่วไป และธรณีวิทยาของแหล่งปิโตรเลียม เพื่อจะได้เข้าใจถึงโครงสร้าง และลักษณะของแหล่งกักเก็บปิโตรเลียมประเภทต่าง ๆ 

           หมวดเจาะหลุม เรียนการออกแบบหลุมปิโตรเลียม วิธีการเจาะ การป้องกันการพลุ่งของปิโตรเลียม การลงอุปกรณ์ที่ใช้ในหลุม และการวิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บบันทึกระหว่างหรือหลังการเจาะ

           หมวดการผลิต เรียนอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการผลิต การกระตุ้นการผลิต การผลิตโดยแรงดันธรรมชาติ การช่วยการผลิตเมื่อแรงดันลดลง การคำนวณการไหลของปิโตรเลียมในท่อผลิตและท่อส่ง

           หมวดแหล่งกักเก็บ เรียนรู้ลักษณะและคุณสมบัติต่าง ๆ ของปิโตรเลียมและแหล่งกักเก็บ การไหลของปิโตรเลียมเข้าสู่หลุม การคำนวณปริมาณสำรอง การลดลงของอัตราการผลิต การผลิตขั้นทุติยภูมิโดยการอัดน้ำแทนที่

ม.ศิลปากร มีอะไรเราต้องไปดู!!


http://www.quota.su.ac.th/newquota/index.student.php